วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ย่า

ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ย่า

         

การเลี้ยงผีปู่ย่า
 สมัยบ้านเมืองยังไม่เจริญรุ่งเรือง คนโบราณกอยู่กันเป็นขกู๋น (ตระกูลเดียวกัน) ถ้าหากว่าผู้ที่เป็นคนมาตั้งบ้านอยู่เป็นคนแรกแล้วก็มาแพร่ขยายหมู่ญาติตระกูลให้กว้างขวางขึ้น ถ้าหากคนนี้ล้มตายจากไปไม่ว่านานแค่ไหนหลายชั่วคนแล้วก็ตาม






            เรื่องของผีปู่แสะย่าแสะปรากฎในตำนานเชียงใหม่ปางเดิม และตำนายวัดดอยคำ ตำบลแม่เหี๊ยะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวกันว่า เดิมเป็นผีบรรพบุรุษของพวกลวะที่อาศัยอยู่ในบริเวณเชิงดอยสุเทพ มีเรื่องเล่าว่าสมัยที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ถึงเชิงดอยคำได้พบยักษ์สามตนพ่อแม่ลูก ซึ่งยังชีพด้วยเนื้อสัตว์และเนื้อมนุษย์ เมื่อยักษ์ทั้งสามเห็นพระพุทธเจ้าก็จะจับกิน แต่พระพุทธองค์ทรงแผ่เมตตาจนยักษ์ทั้งสามเกรงในพระบารมีจึงยอมแสดงความเคารพ พระพุทธเจ้าจึงทรงเทศนาและให้ยักษ์ทั้งสามรักษาศีลห้า แต่ผีปู่แสะย่าแสะไม่อาจรับศีลห้าได้ตลอดจึงขอกินเนื้อมนุษย์ปีละสองคน เมื่อพระพุทธองค์ไม่อนุญาต ก็ขอต่อรองลงมาเรื่อย ๆ จนขอกินเนื้อสัตว์ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสบอกให้ไปถามเจ้าเมืองเอาเอง แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จจากไป โดยไว้พระเกศธาตุที่ต่อมากลายเป็นพระธาตุดอยคำ ประโยชน์ของการเลี้ยงผีปู่ ย่า ตา ยาย 






การเลี้ยงผีปู่ย่า


 การเลี้ยงผีหรือการเลี้ยงตามประเพณีจะเลี้ยงปีละครั้งของเลี้ยงหรือของบวงสรวง จะเป็นอะไรนั้นแล้วแต่ผีจะกินอะไร บางผีก็กินหมู บางผีก็กินเป็ดกินไก่ บางผีก็กินวัวกินควาย ส่วนสุรานั้น ตั้งแต่ 1-5 ขวด เวลาบนบานโดยมากมักจะเป็นหมู วัว ควาย ถ้าเลี้ยงตามปกติประเพณีก็เลี้ยงไก่ หัวหมู กับสุราเท่านั้น



                           










ตามประเพณีนั้นก่อนจะเลี้ยงหรือถึงกำหนดเลี้ยง บางผีก็กำหนดไว้เลยว่า ขึ้นหรือแรมกี่ค่ำ กำหนดตายตัวไปเลยเพื่อคนร่วมเครือญาติที่อยู่ห่างไกลจะได้เดินทางมาด้วย เป็นการชุมนุมพวกพ้องญาติให้เกิดความสามัคคีกันในหมู่เครือญาติ






 ข้อห้ามของผีปู่ ย่า 
             1.ในส่วนดีเฉพาะลูกผู้หญิงผีปู่ย่าวางข้อห้ามไว้ดังนี้คือ ถ้าผู้ชายล่วงเกินไปว่าจับมือถือแขนไม่ว่าในที่ลับหรือที่แจ้ง พอใจหรือไม่พอใจจะต้องเสียผี
              2. ห้ามหวีผมในเวลากลางคืนและห้ามส่องกระจกดูหน้าในเวลากลางคืน
              3. ห้ามชายหนึ่งชายใดที่มิใช่วงศ์ญาติถือผีเดียวกันเข้าไปเกินธรณีประตูห้องนอน ถ้าเข้าไปถือว่าผิดผี
              4. คู่ผัวเมีย เกิดทะเลาะวิวาทหย่าร้างกันไปกลับมาคืนดีกันใหม่ จะต้องผิดผีเสียผี
              5. ในวงศ์ญาติเดียวกันถ้าทะเลากันก็จะผิดผี
              6. ผู้หญิงถ้ามีชายอื่นใดมาทำให้ท้องจะต้องผิดผี แม้จะหาตัวผู้ชายทำไม่ได้ คนท้องจะต้องเป็นคนเสียผีเอง

การกำหนดระยะเวลาในการเลี้ยง
              การเลี้ยงผีปู่ ย่า จะกระทำในโอกาสต่อไปนี้
              1. เมื่อครบกำหนด ปี เดือน วันทีสมควรทำพิธี เช่น วันสงกรานต์ หรือกำหนดวันเลี้ยงผี ซึ่งมักจะเลี้ยงกันระหว่างเดือน 7,8,9 (เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน)
              2. ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น มีการแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ บวชพระ
              3. มีคนในตระกูลเจ็บป่วยและได้บนบานเอาไว้ เมื่อหายจากเจ็บป่วยก็ทำพิธีแก้บน

                                                                                                                  #Credite.นายสัญฑัต กิจสุมนัส


ประเพณีผีปู่ย่าในความคิดของผมนะครับ



      ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่าเป็นประเพณีที่สื่อถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ให้เคารพนับถือท่านหรือพ่อแม่ของเราประพฤติปฎิบัติตัวอยู่ในกรอบของพ่อแม่ และยังสั่งสอนคนรุ่นหลังๆว่า การเคารพผู้มีพระคุณบุพการีนั้น เป็นสิ่งที่ดีย่อมส่งผลดีงามต่อตนเอง ความเจริญก้าวหน้าก็จะตามมา









นาย กิตติทัช คุณยศยิ่ง 58122027 SEC.02
                                                                 สาขาการพัฒนาชุมชน